กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการจัดมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติอย่าง “โอลิมปิก 2024” ในวันที่ 26 ก.ค. – 11 ส.ค. 2024 แต่ยิ่งใกล้ถึงวันพิธีเปิด อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อการจัดโอลิมปิกยิ่งติดลบมากขึ้น เพราะมาตรการและข้อจำกัดต่างๆ ทำให้ชีวิตประจำวันของคนปารีสได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ทีมผู้จัดโอลิมปิก จะมั่นใจในเสน่ห์ของเมืองที่ช่วยเพิ่มสีสันและสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับการแข่งขันก็ตาม

เปิดตัวเหรียญโอลิมปิกปารีส 2024 บรรจุชิ้นส่วน "หอไอเฟล"

รถไฟใต้ดินปารีสเตรียมใช้ AI แปลภาษา นำทางนทท.ช่วงโอลิมปิก

โอลิมปิก เกมส์ 2024 เพิ่มข้อจำกัดนักกีฬาข้ามเพศ

แต่สำหรับคนในประเทศ มีเส้นบางๆ ระหว่างความโกลาหลวุ่นวาย กับการได้รับความสนใจจากสื่อและคนทั่วโลก จนนำไปสู่การถกเถียงในวงกว้าง ด้วยมาตรการเตรียมการหลายๆ อย่างของรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 กำลังทำให้ชาวปารีสมีทัศนคติลบต่อมหกรรมกีฬานี้มากขึ้น

กระแสคัดค้านเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2022 เมื่อชาวปารีสไม่พอใจแผนการโค่นต้นไม้รอบหอไอเฟล เพื่อปรับภูมิทัศน์ ก่อนเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก และเมื่อเดือน ธ.ค. 2023 ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจกับข่าวการขึ้นราคาค่าโดยสารรถไฟใต้ดินในช่วงที่เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก โดยคาดว่าราคาจะพุ่งขึ้น 2 เท่าจากปกติ เนื่องจากบริการขนส่งสาธารณะอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้

เสียงวิจารณ์ยิ่งหนักขึ้น เมื่อ แอนน์ ฮิดัลโก นายกเทศมนตรีกรุงปารีส ออกมาเปิดเผยว่า แผนในการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะในปารีส จะเสร็จไม่ทันช่วงโอลิมปิก 2024 เบื้องต้น ทางการมีแผนขอความร่วมมือให้ชาวปารีสทุกคนทำงานจากที่บ้าน เพื่อลดความแออัดของรถไฟใต้ดินและรถสาธารณะในช่วงการจัดมหกรรมกีฬาให้ได้มากที่สุด

ขณะเดียวกัน มีกระแสข่าวว่า มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดในช่วงโอลิมปิก อาจทำให้พื้นที่บางส่วนของกรุงปารีสเผชิญกับข้อจำกัดที่คล้ายคลึงกับการล็อกดาวน์ในสมัยโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้คนในพื้นที่ได้รับความไม่สะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน

ทั้งหมดนี้ ยังไม่รวมถึงข้อร้องเรียนเรื่องโครงการก่อสร้างต่างๆ เพื่อรองรับโอลิมปิก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังกีดขวางการจราจรรอบกรุงปารีส โดยขณะนี้ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการแข่งขันกีฬาใกล้เสร็จหมดแล้ว เช่นเดียวกับหมู่บ้านนักกีฬาที่เกือบพร้อมสำหรับการตกแต่ง

ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่จัดทำขึ้นเดือน พ.ย. 2023 พบว่า ชาวฝรั่งเศส 65% สนับสนุนการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ซึ่งแม้ในภาพรวม ผู้คนจะยังมีมุมมองที่ดี แต่ภายหลังตัวเลขคนที่เห็นด้วยกลับลดลงถึง 11% โดยเฉพาะการถามเจาะจงแค่ชาวปารีส จะพบว่ามีคนเห็นด้วยเกินครึ่งมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ว่า ประชาชนค่อนข้างเป็นกังวลกับปัญหาเรื่องความปลอดภัยที่สุด โดยเฉพาะพิธีเปิดและปิดสุดอลังการ ซึ่งวางแผนจะจัดริมแม่น้ำแซน

ตามแผนของทางการกรุงปารีส จะทำการระดมตำรวจ 30,000 นาย ดูแลความสงบเรียบร้อยตลอดช่วงที่มีมหกรรมกีฬาโอลิมปิก แต่มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วประเทศเริ่มก่อหวอดประท้วง เพื่อเรียกร้องขอเบี้ยเลี้ยงพิเศษในช่วงที่มีการจัดงาน

เจ้าหน้าที่ตำรวจรวมตัวกันประท้วงใกล้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขู่ว่า “โอลิมปิกอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีพวกเรา” ซึ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงที่จะมีการนัดหยุดงานประท้วงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

อย่างไรก็ตาม คาดว่าทางการฝรั่งเศสจะยอมบรรลุข้อตกลงเรื่องค่าแรงพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ล่วงเวลาในช่วงโอลิมปิก เพื่อไม่ให้กระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมา ฝรั่งเศสมีบทเรียนจากเหตุชุมนุมประท้วงรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง ทั้งการประท้วงและก่อจลาจลครั้งใหญ่ของขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง ที่ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง เร่งแก้ไขปัญหาปากท้องและค่าครองชีพที่สูง รวมถึงม็อบต้านการปฏิรูประบบบำนาญ ซึ่งปลุกกระแสให้เกิดการนัดหยุดงานทั่วประเทศ

 ชาวปารีสไม่ปลื้ม เป็นเจ้าภาพการจัดมหกรรมกีฬา “โอลิมปิก 2024”

ฟิลิปป์ โมโร เชฟโรเลต อาจารย์ด้านการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัย ซิยอง โป ในกรุงปารีส และยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทพีอาร์แห่งหนึ่ง ระบุว่า ในแง่ของการสื่อสาร มีหลายประเด็นที่รัฐบาลรับมือได้ค่อนข้างแย่ เพราะแทนที่จะทำให้คนสนับสนุนและชื่นชอบกับโอลิมปิก กลับกลายเป็นยิ่งเคลือบแคลงสงสัย

กระแสการเกลียดชังโอลิมปิกที่ก่อตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้สมาคมผู้ประกอบการโรงแรมและร้านอาหารในปารีส ต้องออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ทุกคนร่วมมือกันเป็นเจ้าภาพที่ดี ให้ข้อมูลในเชิงบวก และพูดถึงโอลิมปิกอย่างมีความรับผิดชอบ อย่าจ้องแต่จะปั่นกระแสเพื่อโจมตีรัฐบาล

โทนี เอสตองเกต์ อดีตนักกีฬาพายเรือแคนู แชมป์โอลิมปิก 3 สมัยชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่กรุงปารีส ออกมาวิจารณ์การประโคมข่าวลบ โจมตีโอลิมปิก โดยระบุว่า สื่อฝรั่งเศสชอบโฟกัสแต่สิ่งที่เป็นแง่ลบ หรืออะไรที่เป็นจุดอ่อน ขณะที่ประเทศอื่นๆ จะโชว์ศักยภาพและจุดแข็งของตนเอง

เอสตองเกต์ ระบุอีกว่า อย่างน้อยปารีสเกมส์ นั้นมีการเตรียมงานที่เป็นระบบ และมีการบริหารงบประมาณที่ดี เมื่อเทียบกับโอลิมปิกก่อนหน้านี้ เนื่องจากภาคเอกชนของฝรั่งเศสเข้ามามีส่วนร่วมค่อนข้างมาก ทั้งการหารายได้ และคุมค่าใช้จ่าย ในขณะที่หลายประเทศ จะมีภาครัฐเป็นผู้ดูแล

เมื่อเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อน สิ่งหนึ่งที่ตามมา คือ ราคาตั๋วเข้าชมที่ปรับแพงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยตั๋วที่ราคาสูงจะอยู่ในกลุ่มกีฬาประเภทว่ายน้ำและบาสเก็ตบอลรอบชิงเเชมป์ สนนราคาอยู่ระดับหลายพันบาท หรืออาจจะถึงหลายหมื่นบาท

เซบาสเตียน โค ประธานสมาคมกรีฑาโลก ซึ่งดูแลการจัดโอลิมปิกที่กรุงลอนดอน เมื่อปี 2012 ระบุว่า ตั๋วเข้าชมกีฬาที่กรุงปารีสน่าจะแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของการจัดโอลิมปิกแล้ว และมีแนวโน้มที่เจ้าภาพโอลิมปิกจะไม่ขาดทุน

แม้ความพร้อมของฝรั่งเศส จะสวนทางกับทัศนคติของผู้คน และความนิยมของรัฐบาลที่ลดลงเรื่อยๆ แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่า มีความเป็นไปได้ที่บรรยากาศและอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีเมื่อโอลิมปิกเปิดฉากขึ้น และทุกอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่นตามแผน ต้องรอดูกันว่า โอลิมปิกที่งดงามเหนือจินตนาการในแบบฉบับของฝรั่งเศส จะเปลี่ยนใจคนปารีสได้หรือไม่

By admin