วิกฤตผู้ลี้ภัย ถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะสหรัฐฯ และเม็กซิโก ที่เวลานี้กำลังเจอกับคลื่นผู้อพยพระลอกใหม่ที่ไหลทะลักเข้าไปอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาผู้อพยพล้นทะลักชายแดน ส่งผลทำให้ทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงในการเนรเทศผู้อพยพออกจากชายแดนร่วมกัน ซึ่งนี่ถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามครั้งใหม่ของทั้งสองชาติในการต่อสู้กับวิกฤตที่เกิดขึ้น
ฝนตกหนัก-น้ำท่วมกรุงนิวยอร์ก ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน
เตรียมสร้างภาพยนตร์ “โศกนาฏกรรมยานดำน้ำไททัน”
เกิดเหตุระเบิดพลีชีพมัสยิด 2 แห่งในปากีสถาน มีผู้เสียชีวิต 57 ราย
ผู้อพยพหลายพันรวมตัวกันด้านนอกสำนักงานคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ภี้ลัยในเมืองทางตอนใต้ของเม็กซิโกเมื่อวันจันทร์ (25 ก.ย.) ที่ผ่านมา โดยผู้อพยพเหล่านี้มาที่นี่เพื่อขอวีซ่าเดินทางผ่านเม็กซิโกไปยังประเทศที่สามอย่างสหรัฐอเมริกา
ตามรายงานของสื่อท้องถิ่นระบุว่า ที่นั่นมีผู้อพยพราว 3,000 คนจากอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ต่างรอคอยวีซ่าเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Visa) อย่างใจจดใจจ่อ เพื่อใช้เดินทางมุ่งหน้าไปทางตอนเหนือของเม็กซิโก และขอลี้ภัยในสหรัฐฯ
ฮวน คาร์ลอส หนึ่งในผู้อพยพชาวคิวบาบอกว่า พวกเขามาที่นี่ต้องการดำเนินการด้านเอกสารต่างๆให้ถูกต้องตามกฏหมาย เพราะไม่อยากเสี่ยงถูกเนรเทศออกนอกประเทศ และวันนี้ก็ยอมรับว่ามีคนมาต่อคิวรอวีซ่าเยอะมากจริงๆ
"ผมไม่เคยเห็นคนเยอะอย่างวันนี้มาก่อนเลยครับ ผมคิดว่านับวันยิ่งคนมาถึงเยอะขึ้น วันนี้คนแน่นเหมือนที่เราเคยเห็น เมื่อก่อนมีคนต่อคิวเหมือนกัน แต่ไม่เคยเห็นเหมือนวันนี้เลยครับ" คาร์ลอสกล่าว
ส่วนความเคลื่อนไหวบริเวณชายแดนทางตอนเหนือของเม็กซิโก ซึ่งอยู่ติดกับสหรัฐฯ ยังพบผู้อพยพเดินทางเข้าไปอย่างต่อเนื่อง จากภาพจะเห็นว่า มีบางคนแบกข้าวของ และลูกน้อยไว้บนบ่าเพื่อเดินทางข้ามแม่น้ำริโอแกรนด์เพื่อตามล่าความฝัน คือ การเดินทางเข้าไปยังสหรัฐฯ
เมื่อไม่นานมานี้มีผู้อพยพหลายพันคนเดินทางมาถึงชายแดนดังกล่าว และข้ามเข้าสู่แผ่นดินสหรัฐฯ ไม่หยุดหย่อน ไม่ว่าเป็นการเดินเท้า โดยสารรถประจำทาง หรือลักลอบขึ้นรถไฟบรรทุกสินค้า
กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ระบุว่า ในช่วงสัปดาห์ที่แล้วจนถึงวันจันทร์ที่ผ่านมา มีผู้อพยพทะลักเข้ามาในสหรัฐฯทะลุ 8,600 คนแล้ว และมีผู้ถูกจับกุมตัวที่ชายแดนเพิ่มขึ้นจาก 3,000 คน เป็น 8,000 คน
ส่วนบริเวณชายแดนเม็กซิโกที่อยู่ติดกับสหรัฐฯ มีผู้อพยพเดินทางมาถึงแล้วประมาณ 11 ,000 คน และยังมีอีกจำนวนมากที่กำลังตามกระแสคลื่นการอพยพ และยังคงอยู่ระหว่างการเดินทางไปยังเมืองชายแดนทางตอนเหนือของเม็กซิโก
การไหลบ่าของคลื่นผู้ขอลี้ภัย ไปยังสหรัฐฯ ทำให้เมืองซานดิเอโก ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ตลอดจนเมืองอีเกิล พาส และเมืองเอล ปาโซในรัฐเท็กซัส ซึ่งอยู่ติดชายแดนเม็กซิโก ต้องเผชิญกับจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ หลังจากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาพื้นที่เหล่านี้มีผู้อพยพเดินทางมาน้อยลง
องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ชายแดนของสหรัฐฯ และเม็กซิโก ระบุว่า การอพยพถิ่นฐานที่เพิ่มขึ้น ณ เวลานี้ อาจได้รับแรงหนุนจากการรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของกลุ่มผู้อพยพ ที่บอกเล่าถึงความสำเร็จในการเดินทางเข้าไปยังสหรัฐฯ ภายใต้กฏหมายการป้องกันการอพยพฉบับใหม่ที่ออกโดย รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา รวมถึงปัจจัยเรื่องของความรุนแรงและปัญหาการลักพาตัวที่เกิดขึ้นในเม็กซิโกอย่างต่อเนื่องก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้ให้ชาวเม็กซิโกขอลี้ภัยเพิ่มสูงขึ้น
เจ้าหน้าที่ในเมืองอีเกิล พาส รายงานว่า พบการเผชิญหน้ากันระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้อพยพมากกว่า 1,000 ครั้ง ในหลายพื้นที่บริเวณชายแดนสหรัฐฯ และเม็กซิโก รวมถึงหุบเขาริโอแกรนด์ และเอล ปาโซ
ขณะที่ “ออสการ์ ลีเซอร์” นายกเทศมนตรีของเมืองเอล ปาโซ เปิดเผยว่า ในเมืองเอล ปาโซเพียงแห่งเดียวได้มีการจับกุมผู้อพยพที่เดินทางเข้ามาอย่างผิดกฏหมายไปแล้วประมาณ 6,500 คน และมีผู้อพยพขอลี้ภัยมากกว่า 2,000 คนต่อวัน
นายกเทศมนตรีของเมืองเมืองเอล ปาโซระบุว่า ปัญหาผู้อพยพที่เดินทางข้ามชายแดนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตอนนี้ทรัพยากรในพื้นที่เริ่มตึงเครียด และรองรับผู้อพยพไม่ไหวอีกแล้ว
"เมืองเอล ปาโซมีทรัพยาการมากมาย แต่ก็เท่านั้น และตอนนี้เรามาถึงจุดที่รับไม่ไหวแล้วครับ" ลีเซอร์กล่าว
คลื่นของผู้ขอลี้ภัยที่มากเป็นประวัติการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้ ส่งผลทำให้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทางการเม็กซิโก และสหรัฐฯ ได้หารือร่วมกัน ก่อนจะบรรลุข้อตกลงในการเนรเทศผู้อพยพออกจากชายแดน
ข้อตกลงนี้เป็นมาตรการ 15 ข้อที่รวมถึงการป้องกันไม่ให้เหล่าผู้ขอลี้ภัยเหล่านี้เดินทางโดยรถไฟเข้าไปยังชายแดนเม็กซิโก และสหรัฐฯ และอนุญาตให้ตำรวจตระเวนชายแดนสหรัฐฯ ขับไล่ผู้ขอลี้ภัยผ่านสะพานเชื่อมระหว่างประเทศ และประสานงานในการส่งผู้อพยพกลับไปยังประเทศบ้านเกิดของพวกเขาทั้งทางบกและทางอากาศ
นอกจากนี้จะมีการจัดเจรจากับรัฐบาลของประเทศต้นทางของผู้ขอลี้ภัยอย่าง เวเนซุเอลา บราซิล นิการากัว โคลอมเบีย และคิวบา เพื่อยืนยันในการรับพลเมืองของตัวเองที่ถูกเนรเทศกลับไปด้วย
แม้พื้นที่ชายแดนระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโกจะเป็นพื้นที่อพยพทางบกที่อันตรายที่สุดในโลก แต่ผู้ขอลี้ภัยจำนวนมากจากหลากหลายประเทศยังคงเลือกที่จะเสี่ยงเดินทางผ่านเส้นทางนี้เพื่อหวังเริ่มต้นชีวิตใหม่ในสหรัฐฯ
คำถามสำคัญคือ ผู้อพยพบริเวณชายแดนเม็กซิโก-สหรัฐฯ คือใคร และอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะเสี่ยงชีวิตเพื่อให้ได้เข้าไปในแผ่นดินสหรัฐฯ
ข้อมูลจากศูนย์ American Civil Liberties Union ชี้ว่า ผู้อพยพส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจากพื้นที่ทางตอนใต้ของสหรัฐฯ หลบหนีมาจากประเทศ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และเอลซัลวาดอร์
ทั้งสามประเทศ เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าไม่มั่นคงและอันตรายที่สุดในโลก เพราะมีอัตราการก่ออาชญากรรม กลุ่มมาเฟีย การปราบปรามทางการเมือง และความรุนแรงทางเพศอยู่ในระดับสูงมาก
ตัวอย่างเช่นกรณีของฮอนดูรัส ข้อมูลจาก Association for a More Just Society ของสหรัฐฯ ระบุว่า ทุกๆ 18 ชั่วโมงจะมีผู้หญิงอย่างน้อยหนึ่งคนตกเป็นเหยื่อความรุนแรงและเสียชีวิตคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ขณะเดียวกัน เด็กและวัยรุ่นในประเทศกัวเตมาลา ฮอนดูรัส และเอลซัลวาดอร์ ถูกฆ่ามากที่สุดในโลก โดยเด็กและวัยรุ่นในประเทศเหล่านี้มีโอกาสถูกฆ่ามากกว่าเด็กที่อยู่ในสหรัฐฯ ถึง 10 เท่า
นอกจากกัวเตมาลา ฮอนดูรัส และเอลซัลวาดอร์แล้ว ผู้อพยพที่เดินทางเข้าสหรัฐฯ จำนวนมากมาจากประเทศเวเนซุเอลา เม็กซิโก และรวมถึงหลายประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น แคมเมอรูน ประเทศเหล่านี้ล้วนมีปัญหาความไม่สงบทางการเมือง มาเฟีย และความรุนแรงเช่นกัน
ความรุนแรงเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ประชากรที่พอมีกำลังทรัพย์สำหรับเดินทางแบบเที่ยวเดียว ตัดสินใจเสี่ยงโชค มุ่งหน้าไปยังชายแดนสหรัฐฯ และ เม็กซิโก เพื่อทำเรื่องขอลี้ภัย