วันที่ 31 พ.ค. จากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.75% เป็น 2% ต่อปี ให้มีผลทันที ซึ่งถือเป็นการขึ้นดอกเบี้ย 6 ครั้งติดต่อกัน
ด้าน “ปิติ ดิษยทัต” เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุว่า ในส่วนของการส่งผ่านดอกเบี้ยไปยังธนาคารและสู่ลูกค้านั้นที่ผ่านมาใกล้เคียงในอดีต ดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อย หรือเอ็มอาร์อาร์ส่งผ่านน้อยกว่า เพราะธนาคารต้องการดูแลภาระหนี้โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้เปราะบางเพื่อไม่ให้กระทบมากเกินไป
ทั้งนี้ หากดูที่ผ่านมาการส่งผ่านดอกเบี้ยนโยบายในส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ธุรกิจรายใหญ่ หรือเอ็มแอลอาร์ มีการส่งผ่านสูงกว่าที่ผ่านมา ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยกระทบภาระหนี้ แต่ในส่วนโครงสร้างดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยเป็นดอกเบี้ยคงที่ 60% ซึ่งมีบางส่วนได้รับผลกระทบ แต่เชื่อว่าไม่ได้เป็นประเด็นที่กลุ่มนี้จะไม่สามารถรับภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ ยังเป็นไปตามกลไกที่จะมีต้นทุนกู้ยืมที่สูงขึ้น
ขณะเดียวกัน กนง.ได้พูดถึงเรื่องหนี้ครัวเรือนพอสมควร โดยหนี้เดิมค้างนานไม่สามารถชำระหนี้ได้ มองว่าเป็นตัวถ่วงเศรษฐกิจได้ และเป็นกลุ่มเปราะบางที่กระทบมาก มาตรการที่ดูแลกลุ่มนี้คือไม่ได้ดูแลดอกเบี้ย เพราะปัญหามากกว่านี้ อาจเป็นความสามารถชำระหนี้ เครื่องมือที่เหมาะสมไม่ใช่ด้านดอกเบี้ย ส่วนหนี้ใหม่มั่นใจธนาคารประเมินความเสี่ยงปล่อยกู้อย่างรอบคอบ โดยขึ้นดอกเบี้ยกระทบหนี้ใหม่พอสมควรแต่เชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะช่วยได้
นายปิติ กล่าวว่า การดำเนินนโยบาย กนง.ที่ผ่านมายังเหมาะสม แต่ความไม่แน่นอนทุกๆด้านมีมาก โดยกนง.ดูแนวโน้มที่ประเมินได้ภายใต้ข้อมูลปัจจุบัน แต่ถ้ามีข้อมูลใหม่และทำให้ภาพรวมมุมมองใหม่เปลี่ยนไป กนง.จะกำหนดตามข้อมูลที่เปลี่ยนไป จึงดูระดับที่เหมาะสมของดอกเบี้ยว่าจะเป็นอย่างไร โดยต้องดูภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มเป็นอย่างไร กนง.ต้องดูข้อมูลต่อไปว่าเป็นไปตามที่คาดไว้หรือไม่ เป้าหมายคืออยากจะปรับให้เศรษฐกิจขยายตัวยั่งยืน เงินเฟ้ออยู่ในเป้า ภาวะการเงินสอดคล้องกับการขยายตัวเศรษฐกิจแบบมีศักยภาพ
“สถานการณ์การเมืองในตอนนี้ กนง.มองไปข้างหน้าต้องดูแนวนโยบาย ทั้งด้านอุปสงค์ อุปทานว่าเป็นลักษณะ วิเคราห์ดู ชั่งน้ำหนัก แต่ความชัดเจนตอนนี้มีไม่เพียงพอ และไม่ใช่แค่ในประเทศ มีปัจจัยต่างประเทศด้วย ส่วนกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้ากังวลหรือไม่ เป็นไปตามกระบวนการเป็นประเด็นที่กนง.ไม่ได้พูดคุยมามาก ดูการจัดตั้งและมีแนวนโยบายอย่างไร ถ้าการจัดตั้งรัฐบาลแน่ชัดแล้ว จะทำให้การลงทุนมีมากขึ้น และมีความชัดเจนนโยบาย ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจในปีหน้า”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากนี้ได้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 3.6% ในปี 66 และในปี 67 ขยายตัว 3.8% จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ส่วนเงินเฟ้อมีแนวโน้มทยอยปรับลดลง โดยเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย คาดอยู่ที่ 2.5% ในปี 66 ลดลงจากคาดเดิมที่ 2.9% จากฐานสูงปีก่อนและมีมาตรการภาครัฐช่วยค่าไฟฟ้า โดยในเดือน เม.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เงินเฟ้อทั่วไป 2.6% และในเดือน พ.ค.-มิ.ย. มีโอกาสอาจต่ำกว่า 2% แต่กังวลเงินเฟ้อพื้นฐานสูงจะลดลงยาก โดยเฉพาะหมวดอาหาร บริการ ราคาสินค้า ต่างจากเงินเฟ้อทั่วไปที่มีอาหารสด ราคาพลังงานที่ปรับลดลงได้ง่ายกว่า ต้องดูการปรับเปลี่ยนราคาสินค้าของผู้ประกอบการ และนโยบายรัฐบาลใหม่ที่ไม่แน่นอน ต้องดูว่ากระทบเงินเฟ้ออย่างไรบ้าง